Gap Analysis คืออะไร?

หลายคนที่หาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาระบบคงจะเคยได้ยินการทำ Gap Analysis กันมาบ้าง แล้วทำไมเราถึงต้องทำ Gap Analysis ก่อนจะเริ่มพัฒนาระบบ ERP ด้วย วันนี้ Roots จะมาเล่าให้ฟัง
2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 โดย
Administrator

​เคยไหม? พัฒนาระบบแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ระบบที่ได้ไม่รองรับกับความต้องการที่มี ปัญหาหลัก ๆ มักมาจากการที่เราไม่มีความรู้ว่าองค์กรของเรามีข้อมูลอะไรบ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร ต้องการระบบแบบไหนเพื่อมารองรับการทำงานในปัจจุบัน และปรับให้สอดคล้องเข้ากันกับความต้องการที่จะใช้ระบบ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป...ถ้าเรามีขั้นตอนการเตรียมความพร้อมก่อนที่เราจะเริ่มพัฒนาระบบ นั่นก็คือ การทำ Gap Analysis

Gap Analysis คืออะไร?

Gap Analysis คือ การวิเคราะห์ช่องว่าง หรือการประเมินประสิทธิภาพองค์กรธุรกิจ เป็นการประเมินเบื้องต้น เพื่อหาช่องว่างหรือข้อบกพร่องที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำมาพิจารณาว่าองค์กรของเราตอนนี้ยังขาดจุดไหนบ้าง เป็นการหาช่องว่างที่ต้องการเติมเต็มเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น

​โดยเราต้องกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ เพื่อมาวิเคราะห์หาแนวทางการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ และช่วยให้องค์กรเติบโตก้าวไปข้างหน้า กล่าวคือ Gap Analysis เป็นการวิเคราะห์เพื่อดูว่าองค์กรของเรามีปัญหาใดบ้างที่ต้องแก้ไขเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้

Gap Analysis คือ การวิเคราะห์ช่องว่าง หรือการประเมินประสิทธิภาพองค์กรธุรกิจ

Gap Analysis กับ Software Implementation (Odoo ERP)

สำหรับการทำ Gap Analysis ก่อนเริ่มทำการพัฒนาระบบ (Software Implementation) มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ความต้องการในการใช้ระบบขององค์กรนั้น ๆ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาระบบ ทางทีมผู้พัฒนาระบบจะเข้าไปเก็บข้อมูลการทำงานของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโมดูลที่เลือกใช้ในองค์กร พูดคุยกับทางผู้ใช้งานแต่ละแผนกโดยตรง เพื่อดูกระบวนการทำงาน ข้อมูล เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลประมาณ 3-4 วัน หลังจากนั้นทีมจะนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และสรุปผล โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 7-14 วัน


​โดยผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการทำ Gap Analysis จะทำให้เราทราบถึงกระบวนการทำงานและข้อมูลขององค์กร ฟีเจอร์ที่ผู้ใช้งานต้องการ ว่าระบบ Odoo ERP Standard Version สามารถครอบคลุมการทำงานขององค์กรเพียงพอหรือไม่ หากยังไม่ครอบคลุมต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติม (Customization) ควรจะพัฒนาเพิ่มในส่วนไหนบ้าง

การทำ Gap Analysis จะทำให้เราทราบถึง

ข้อมูลภาพรวมขององค์กร

ว่ามีความพร้อมในพัฒนาระบบเพียงใด ยังขาดข้อมูลส่วนใดบ้าง ควรเพิ่มเติมข้อมูลส่วนไหน ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานอะไรบ้างและระบบจะเข้ามาช่วยในการทำงานได้อย่างไร หรือควรปรับการทำงานของพนักงานในองค์กรเพื่อเตรียมความพร้อมในการใช้ระบบอย่างไรบ้าง

ขอบเขตงานทั้งหมด (Requirement Scope)

ที่ทีมผู้พัฒนาระบบจะทำงานและส่งมอบให้

ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการพัฒนาระบบ

ทำให้องค์กรสามารถวางแผนและกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายได้ หากระบบที่ต้องการมีหลายส่วนงานเป็นสเกลใหญ่ อาจวางแผนแบ่งการพัฒนาเป็นหลายเฟส ไม่จำเป็นต้องรอระบบขึ้นพร้อมกันหมดทุกแผนก

ผลการเปรียบเทียบระบบ

ผลการเปรียบเทียบระบบ Odoo ERP ระหว่าง Standard Version และ Customization ว่าฟีเจอร์ที่องค์กรต้องการใช้งานมีพร้อมใช้งานเรียบร้อยแล้วหรือต้องพัฒนา (Implementation) เพิ่มเติมในส่วนใดบ้าง

ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบ (Project Timeline)

ระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบ รวมถึงระยะเวลาพัฒนาในส่วนที่จำเป็นต้องพัฒนาและแนะนำให้พัฒนาก่อน เพื่อที่องค์กรจะได้มองเห็นภาพรวมของกรอบระยะเวลาทำงาน

​การทำ Gap Analysis สามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานที่หลากหลาย ไม่ใช่เฉพาะแค่การพัฒนาระบบเท่านั้น องค์กรควรกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้ชัดเจน หาช่องว่างและวิธีการที่จะอุดช่องว่างนั้น และอย่าลืมหาที่ปรึกษาที่จะช่วยแนะนำแนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง

​หากคุณกำลังต้องการจะเปลี่ยนระบบ หรืออยากนำระบบ Odoo ERP มาใช้ในการทำงาน ติดต่อผู้เชี่ยวชาญกับ Roots, Odoo Official Partner ได้ทันที ติดต่อเรา 

Administrator 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024
แชร์โพสต์นี้
แท็ก