Data คืออะไร และการทำ Analytics 4 ขั้นตอน

ในยุคที่ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนไปด้วยข้อมูล เรามาทำความรู้จักกับ Data กันเบื้องต้นในบทความนี้กัน
26 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 โดย
Administrator

"Data คือ ข้อมูลที่บ่งบอกถึง ข่าวสาร หรือ ความเป็นจริงบางอย่าง

อาจเป็นตัวเลข หรือตัวอักษร ที่ถูกเก็บไว้ในระบบสารสนเทศที่ใดที่หนึ่ง"

ข้อมูลสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท

​1. Qualitative Data (ข้อมูลเชิงคุณภาพ)
​​2. Quantitative Data (ข้อมูลเชิงปริมาณ)

Quantitative Data หรือข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ข้อมูลที่สามารถเปรียบเทียบ วัดความมากกว่า น้อยกว่า และ เรียงลำดับได้ เรียกว่า เป็นข้อมูลที่เป็นตัวเลขนั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น อุณหภูมิ ความชื้น อายุ รายได้ ความสูง หรือจำนวนต่าง ๆ เป็นต้น


​Qualitative Data หรือข้อมูลเชิงคุณภาพ อธิบายง่าย ๆ คือ ตรงข้ามกับข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบหรือผ่านกระบวนการทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น เพศ สถานภาพ เชื้อชาติ ฯลฯ


​หากใครเคยเรียน Statistics หรือสถิติมา จะรู้ว่าเป็นการจำแนกข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน เนื่องจากศาสตร์ทางด้าน Data Analytic หรือที่เราเรียกกันกว่า Data Science นั้น ส่วนหนึ่งมีรากฐานมาจากความรู้ทางสถิตินั้นเอง ในปัจจุบันมีการนำข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วนำมา ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้หลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ การทำ Data Analytic ว่าด้วยศาสตร์ที่นำข้อมูลเข้ามาเป็น Input และวิเคราะห์หรือค้นหาองค์ความรู้บางอย่างออกมา

Data Analytic นั้น จำแนกตามจุดประสงค์และลำดับความซับซ้อนของกระบวนการได้เป็น 4 ประเภท

Data Analytic นั้น จำแนกตามจุดประสงค์และลำดับความซับซ้อนของกระบวนการได้เป็น 4 ประเภทSource: https://www.scnsoft.com/blog-pictures/business-intelligence/4-types-of-data-analytics.png

1. Descriptive Analytics: What is happening?

​Descriptive Analytics คือ การทำรายงานเกี่ยวกับข้อมูลที่มีอยู่ ให้ข้อมูลบอกกับเราว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน อาจเป็นรายงานปริมาณรายได้ กำไรสุทธิ ของบริษัท ปริมาณการบริโภคสินค้าของผู้บริโภค เพื่อให้ทราบสภานภาพความเป็นอยู่ของส่งที่เราสนใจในปัจจุบัน เรียกได้ว่าจุดประสงค์ของ Descriptive Analytics นั้น มีความคล้ายหรือเป็นอย่างเดียวกันกับการทำงบการเงินในทางบัญชีนั้นเอง

2. Diagnostic Analytics: Why is it happening?

​Diagnostic Analytics เป็นขั้นตอนถัดไปการทำ Data Analytic เป็นการหา Insight ในชุดข้อมูลที่มีอยู่ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น เกิดขึ้นเพราะอะไร สามารถระบุปัจจัยที่มีผลต่อ สถานภาพที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของธุรกิจนั้น ๆ

3. Predictive Analytics: What is likely to happen?

​ Predictive Analytics หรือการพยากรณ์สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยอาศัยความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีและสิ่งที่เราต้องการรู้ และวิเคราะห์หาความเกี่ยวเนื่องกัน (Correlation) และนำมาเป็นปัจจัย (Feature) ที่ใช้ในการพยากรณ์

4. Prescriptive Analytics: What I need to do to make it happen?

​ Prescriptive Analytics ขั้นตอนสุดท้ายของการทำ Data Analytic การวิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เกิดสิ่งที่เราต้องการเกิดขึ้น และหา Action ที่ทำให้ปัจจัยนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามที่เราต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือป้องกันเหตุการณ์หรือสถานการณ์บางอย่างในอนาคต

Prescriptive Analytics ขั้นตอนสุดท้ายของการทำ Data Analytic การวิเคราะห์ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เกิดสิ่งที่เราต้องการเกิดขึ้น และหา Action ที่ทำให้ปัจจัยนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามที่เราต้องการSource: https://cdn.datafloq.com/cms/2017/11/03/four-types-analytics.jpg


​เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในการนำ Data Analytic มาประยุกต์ในโลกของธุรกิจที่น่าสนใจเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ช่วงปี 2004 ที่สหรัฐอเมริกา อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์ New York Times ในช่วงก่อนการเกิด Hurricane หรือช่วงที่มีการเตือนภัยพิบัติเกิดขึ้น ขนมที่ขื่อ pop tarts จะมียอดการขายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนับสำคัญ เนื่องจากเป็นขนมที่ให้พลังงานสูง สามารถทานแทนอาหารมื้อหลักได้ในยามฉุกเฉิน และสามารถเก็บไว้ได้นาน หากเรานำมาประยุกต์ใช้ ในประเทศไทย ในแง่ของธุรกิจ ผู้ประกอบการก็สามารถเตรียมความพร้อมสำหรับความต้องการสินค้าที่สูงขึ้นได้อย่างทันท่วงที รัฐบาลก็สามารถเตรียมมาตรการสำหรับป้องกัน การกักตุนและเก็งกำไรจากสินค้าอย่างไม่เป็นธรรมได้ หากมีภัยพิบัติเกิดขึ้น และหากรัฐบาลหรือผู้ประกอบที่มีข้อมูลอยู่ในมือ สามารถทำ Data Analytic และรู้ถึง Insight ของข้อมูลดังเช่นที่ Walmart รู้ก่อนเกิดภัยพิบัติ ผู้นั้นย่อมสามารถสร้างคุณค่าให้กับบริษัทรวมถึงป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัตินั้นได้อีกด้วย


​จะเห็นได้ว่าการทำ Data Analytic สร้างมูลค่ามากมาย ให้กับโลกของธุรกิจ ปัจจุบันทุกองค์กรย่อมมีข้อมูลภายในที่เก็บอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แต่อาจไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นถ้าธุรกิจไหนสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์ได้ ก็จะทำให้เห็นมุมมองต่างๆ ช่วยให้และเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล

References

[1] https://www.scnsoft.com/blog/4-types-of-data-analytics

[2] https://www.kdnuggets.com/2017/07/4-types-data-analytics.html(https://www.kdnuggets.com/2017/07/4-types-data-analytics.html

[3] https://www.analyticsinsight.net/four-types-of-business-analytics-to-know/#:\~:text=Depending on the stage of,%2C diagnostic%2C predictive and prescriptive

[4] https://datafloq.com/read/the-four-types-of-data-analytics/3903

[5] https://blogs.scientificamerican.com/guest-blog/9-bizarre-and-surprising-insights-from-data-science/

[6] https://www.countryliving.com/food-drinks/a44550/walmart-strawberry-pop-tarts-before-hurricane/

[7] https://www.nytimes.com/2004/11/14/business/yourmoney/what-walmart-knows-about-customers-habits.html

Administrator 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2021
แชร์โพสต์นี้
แท็ก