1.การเก็บข้อมูล (Collect Data)
โดยปัจจุบันการเก็บข้อมูลของแต่ละองค์กรนั้นมีการเก็บหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บในลักษณะเอกสาร, Hard Disk, Cloud, Database ฯลฯ ซึ่งแต่ละข้อมูลที่เก็บในแต่ละฐานข้อมูลนั้น ล้วนมีความจำเป็นยิ่ง เพื่อที่จะเก็บข้อมูลให้ถูกต้องและได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี ข้อมูลจะได้ถูกนำมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเป็นข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน การเก็บข้อมูลก็ต้องคำนึงถึงรูปแบบข้อมูล วิธีการเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆ และขั้นตอนการเก็บข้อมูล เช่น องเป็นแบบ Real Time หรือ ตั้งเป็น Cron Job ในการเก็บตามแต่ละช่วงเวลา เป็นต้น และสุดท้ายก็ต้องดูถึงฐานข้อมูลที่เราจะเก็บว่ามีความเหมาะสมกับข้อมูลของเรามั้ย เพื่อที่เราจะได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
2.คุณภาพของข้อมูล (Data Quality)
ปัจจุบันข้อมูลถูกจัดเก็บเป็นจำนวนมาก และมีหลากหลายรูปแบบตามที่ได้กล่าวไปแล้ว ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บก็มีความผิด-ถูกของข้อมูลปะปนอยู่ด้วย ดังนั้น ข้อมูลเหล่านี้จึงมีความสำคัญที่จะต้องถูกทำความสะอาด และจัดเก็บให้ถูกต้องตามรูปแบบที่ควรจะเป็น เนื่องจากการจะนำข้อมูลไปใช้ต่อนั้น ถ้าข้อมูลตั้งต้นไม่ถูกต้อง หรือมีความผิดพลาดอยู่ จะไม่สามารถนำไปใช้งานต่อได้เลย หรือการนำข้อมูลไปใช้งานต่อก็เกิดความผิดพลาดของข้อมูลที่ต้องการจะสื่อสารได้
ดังนั้น เราควรจะให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดของข้อมูลเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้คุณภาพของข้อมูลที่ออกมาเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ โดยการที่จะทำให้คุณภาพของข้อมูลเป็นข้อมูลที่ดีได้นั้น ต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้
ความครบถ้วนของข้อมูล (Completeness)
ความถูกต้องของข้อมูล (Validity)
ความเป็นเอกลักษณ์ของข้อมูล (Uniqueness)
ความสอดคล้องของข้อมูล (Consistency)
ความถูกต้องของช่วงเวลา (Timelines)
ความแม่นยำของข้อมูล (Accuracy)
3.เครื่องมือในการจัดการข้อมูล (Data Tools)
การที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และใช้งานนั้น ต้องมีเครื่องมือในการจัดการข้อมูลที่ดี และเหมาะสมกับข้อมูลที่นำมาใช้ โดยปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่สามารถนำข้อมูลจำนวนมากๆ มาวิเคราะห์ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพแม่นยำมากขึ้น ซึ่งเราจะกล่าวถึงเครื่องมือที่นำมาใช้งานกัน
4.การเข้าถึงข้อมูลและการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Access & Data Governance)
ปัจจุบันการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร (Enterprise Data Management) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในหลายองค์กร เนื่องจากความสำคัญของข้อมูลองค์กรนั้นยังคงเติบโตแบบทวีคูณ แผนการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร มักจะประกอบไปด้วย การปรับปรุงคลังข้อมูล (Data Warehouse) ที่มีอยู่ให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อนำข้อมูลมาใช้งานได้แบบทันท่วงที รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยมุ่งเน้นที่การเพิ่มขีดความสามารถทางด้านดิจิตอล เช่น เพื่อให้รองรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เป็นต้น ดังนั้น การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) จึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลองค์กร
5.สังคมแห่งการแบ่งปันความรู้ (Data Knowledge Society)
Knowledge Management เป็นการรวบรวม จัดเรียง หรือสร้างองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ทั้งในตัวบุคคลและเอกสาร เพื่อให้คนภายในองค์กรสามารถที่จะเข้าถึงความรู้ หรือข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ได้ แล้วนำมาพัฒนาตัวเองและนำไปใช้เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด หลังจากที่เราได้มีการนำข้อมูลมาเก็บและทำการวิเคราะห์ต่างๆ เรียบร้อยแล้วนั้น สุดท้ายต้องจัดทำ Knowledge Management System ขึ้นมาเพื่อที่จะบริหารจัดการองค์ความรู้ต่างๆ ให้เป็นระบบระเบียบ โดยมีกระบวนการในการบริหารจัดการเป็นขั้นตอน