การรับรองมาตรฐานระดับสากล CMMI ที่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ควรมี

CMMI คืออะไร ?
Capability Maturity Model Integration (CMMI®) โดยสถาบัน CMMI ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นมาตรฐานในการปรับปรุงคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ เป็นที่รู้จักและยอมรับของสากล ซึ่ง CMMI ถือเป็นแนวทางการพัฒนากระบวนและคุณภาพของการผลิตและการบริการด้านซอฟต์แวร์ให้มีการบริหารจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ มีวิธีการวัดผลหรือการประเมินกระบวนการที่เป็นมาตรฐาน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถส่งมอบงานที่มีคุณภาพ ด้วยมาตรฐานนี้จึงนับเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์
ต้นกำเนิดของ CMMI
CMMI เป็นต้นแบบของการวัดวุฒิภาวะความสามารถในการทำงาน ที่ทางสถาบัน Software Engineering Institute (SEI) แห่งมหาวิทยาลัย คาร์เนกี เมลลอน ในสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาขึ้นให้แก่กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา โดยวัตถุประสงค์ของ CMMI คือการจัดเตรียมแผนงานที่ชัดเจนของแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่องค์กรควรปฏิบัติตาม เพื่อยกระดับความสามารถและเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจได้นั่นเอง
CMMI จะมีวิธีการหรือขั้นตอน (process improvement) เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ จนถึงการส่งมอบ และการบำรุงรักษาเพื่อให้ทุกองค์กรนำไปใช้ปรับปรุงคุณภาพซอฟต์แวร์ และสามารถดำเนินการจนสามารถส่งมอบงานที่มีประสิทธิภาพให้แก่ลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์ ในบางหน่วยงานจะมีการกำหนดระดับ CMMI ที่จะต้องได้รับการรับรองของบริษัทเพื่อเข้ารับงานด้วย เช่น การดำเนินการพัฒนาซอฟแวร์ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ บริษัทที่รับผิดชอบจะต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน CMMI Level 3 จึงจะได้รับการพิจารณาการจัดจ้างงาน
ระดับมาตรฐานของ CMMI
CMMI แบ่งตามประเภทของงานได้ 3 กลุ่มคือ
CMMI for Acquisition (CMMI-ACQ) ครอบคลุมกระบวนการด้านการจัดซื้อจัดจ้าง
CMMI for Development (CMMI-DEV) ครอบคลุมกระบวนการด้านการพัฒนา
CMMI for Services (CMMI-SVC) ครอบคลุมกระบนการด้านการให้บริการ
การประเมินระดับของ CMMI มีอยู่ 5 ระดับ โดยในแต่ละระดับ มีความหมาย ดังนี้

ระดับ 1 (Performed level) เป็นระดับเบื้องต้นซึ่งอาจกล่าวได้ว่า บริษัททั่วไปต่างก็อยู่ในระดับนี้ คือ ยังทำงานแบบไม่เป็นระบบ การทำงานต้องพึ่งผู้ที่มีประสบการณ์เป็นหลัก
ระดับ 2 (Managed level) การทำงานจะมีความเป็นระบบมากขึ้น มีการนำหลักการจัดการโครงการมาใช้ในการบริหารงานของแต่ละโครงการ
ระดับ 3 (Defined Level) เป็นระดับที่หน่วยงานได้จัดทำมาตรฐานการทำงานของหน่วยงานขึ้น โดยการพิจารณาปรับปรุงจากการดำเนินงานในระดับที่สอง ในระดับนี้การทำงานจะมีมาตรฐาน สามารถวัดและจัดเก็บสถิติผลการดำเนินงานเอาไว้ได้
ระดับ 4 (Quantitatively Managed Level) เป็นระดับที่นำเอาสถิติการดำเนินงานที่จัดเก็บไว้มาวิเคราะห์ เพื่อหาจุดบกพร่อง และแก้ไขข้อบกพร่องได้
ระดับ 5 (Optimizing level) เป็นระดับวุฒิภาวะสูงสุด เป็นระดับที่หน่วยงานดำเนินการปรับปรุง กระบวนการทำงานของตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการจัดกระบวนการทำงานใหม่ ให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น และมีการป้องกันไม่ให้ข้อบกพร่องเกิดขึ้น
ความแตกต่างระหว่างผู้ให้บริการทั่วไป และ ผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน CMMI
จากวัตถุประสงค์ของ CMMI ที่มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการหรือขั้นตอนการทำงาน เพื่อพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ จนถึงการส่งมอบ และการบำรุงรักษา ดังนั้น องค์กรที่ได้รับ CMMI ถือว่าองค์กรนั้นมีผลิตภัณฑ์และกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product & Service) ที่มีประสิทธิภาพ เป็นที่น่าเชื่อถือของลูกค้าและเป็นตัวการันตีชิ้นงานนั่นเอง ส่วนผู้ให้บริการทั่วไปที่ไม่ได้รับ CMMI กระบวนการทำงานหรือขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์มีความเป็นไปได้สูงที่ไม่เป็นระบบหรือลำดับขั้นตอน อาจก่อให้เกิดความผิดพลาดหรือความเสียหายได้ ดังนั้น การเลือกผู้ให้บริการที่ได้รับ CMMI จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่ช่วยให้ลูกค้ามีความอุ่นใจและมั่วใจในการจ้างงานและให้พัฒนาซอฟแวร์ให้กับบริษัทของคุณ
ปัจจุบัน บริษัท ทรินิตี้ รูทส์ จำกัด ได้ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน CMMI Level 3 ที่สามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าได้ว่า การดำเนินงานในการพัฒนาซอฟแวร์ของเราเป็นไปตามมาตรฐาน มีกระบวนการและขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ และพร้อมส่งมอบงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพให้กับลูกค้าทุกท่านอย่างแน่นอน