Midjourney AI กับงาน ART

กระแสของ AI กับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในยุคปัจจุบัน
25 ตุลาคม ค.ศ. 2022 โดย
Administrator

​กระแสของ Midjourney AI ที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้โดยอาศัย Keywords ของคน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2022 นั้น เป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการเข้าถึงและใช้งาน AI ให้เป็นรูปธรรม ได้ดีมาก ๆ เหตุการณ์หนึ่งในยุคที่การเติบโตของ AI กำลังเป็นไปอย่างก้าวกระโดดนี้

Midjourney AI สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้โดยอาศัย Keywords ของคน
ตัวอย่างภาพที่สร้างโดย Midjourney (ที่มา https://www.facebook.com/groups/midjourneyai/media)

​Midjourney นั้นเป็น AI ที่อาศัยการระบุ Keyword ของ User ว่าต้องการให้สร้างภาพโดยมีรายละเอียด หรือ Reference จากอะไร แล้วระบบก็จะทำการนำ Keyword ที่ได้ไปผ่านกระบวนการ Mapping กับภาพที่น่าจะตรงกับคำนั้น ๆ และภาพ Reference ที่ได้มา Process ออกเป็นภาพ Final ซึ่งในบทความนี้ ผมจะขอไม่กล่าวถึงกระบวนการทางเทคนิคนะครับ แต่จะเน้นไปที่กระบวนการการสร้างงานศิลปะเมื่อเทียบกับคนแทน และเนื่องจากว่าเทคโนโลยีนั้น ยังไม่สามารถสร้างสรรค์งานที่มากกว่าไปกว่า 2D Art ได้ จึงขอเทียบกับกระบวนการสร้างงานประเภทเดียวกันก่อนนะครับ


​การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของคนเรานั้น มักจะมีที่มาที่ไป ทั้งอาจจะชัดเจนหรือไม่ชัดเจนก็ได้ โดยสุดท้ายแล้วการได้มาซึ่งผลงานที่เป็น Result นั้นต้องอาศัยทักษะที่สั่งสมมา ทั้งในแง่ของการตีความผนวกกับเทคนิคที่เรามีในฐานะศิลปินเพื่อสร้าง Output ที่เราหรือ End user พึงพอใจ งานศิลปะนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ภาพวาดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงงาน Graphic อื่น ๆ และงานประเภทที่ต้องคำนึง UX/UI ได้เช่นเดียวกัน และด้วยนัยยะลักษณะนี้ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ผมจึงขอแจกแจงออกเป็นที่มาที่ไปของกระบวนการสองส่วนหลัก ๆ ดังนี้

1. การตีความ

​ในมุมของงาน Art เราจะทำการตีความกลุ่มก้อนของ Idea หรือความคิดต่าง ๆ ทั้งที่ชัดเจนหรือไม่ก็ได้ ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของรายการต่าง ๆ ที่ต้องทำให้ได้ โดนรายการต่าง ๆ นั้น ก็ขึ้นอยู่กับ Art Product ที่เราต้องทำการออกแบบหรือสร้างสรรค์ออกมา เช่น หากเราเป็นสถาปนิก เราก็อาจจะได้รายการของ Style และ Function ของอาคารออกมา หรือหากเราเป็น Web Designer เราก็อาจจะได้รายการของ UX ที่ต้องทำให้ได้ทั้งในมุมของ functional และ non-functional เป็นต้น

การตีความกลุ่มก้อนของ Idea หรือความคิดต่าง ๆ ทั้งที่ชัดเจนหรือไม่ก็ได้ ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบของรายการต่าง ๆ ที่ต้องทำให้ได้

2. การสรรค์สร้าง

​เมื่อได้มาซึ่งรายการแล้ว จึงเข้าสู่กระบวนการของการสรรค์สร้างผลงาน โดยอาศัยทักษะที่สั่งสมมาของศิลปินเพื่อให้ผลงานที่ได้นั้นออกมาเป็นที่พึงพอใจของ User มากที่สุด (User มีได้หลายประเภทตามความพึงพอใจนะครับ ขอละเอาไว้ในฐานที่เข้าใจ)

การสรรค์สร้างผลงาน โดยอาศัยทักษะที่สั่งสมมาของศิลปินเพื่อให้ผลงานที่ได้นั้นออกมาเป็นที่พึงพอใจของ User มากที่สุด

​กระบวนการทั้งสองขั้นด้านบนนั้น เป็นเพียงกระบวนการแบบหยาบ ๆ ที่สามารถใช้ได้ในทุก ๆ งานที่เป็น Production โดย List นั้น อาจจะเป็นรายการความต้องการของลูกค้า และการ Create ผลงานนั้น ก็เป็นไปในเช่นเดียวกันกับการสร้างบ้าน Develop software หรือ การทำ Production ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน ทำให้เราสามารถมองเห็นกระบวนการทั้งหมดแบบคร่าว ๆ (Hi-Level) ได้ดังนี้

ะการ Create ผลงานนั้น ก็เป็นไปในเช่นเดียวกันกับการสร้างบ้าน Develop software หรือ การทำ Production ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน ทำให้เราสามารถมองเห็นกระบวนการทั้งหมดแบบคร่าว ๆ (Hi-Level)

​ทีนี้ด้วยภาพแบบคร่าว ๆ ด้านบนนี้แหละครับที่เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่า Midhourney หรือ AI อื่น ๆ สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ตรงไหน ซึ่งโดยหลัก ๆ แล้วตามปกติ ณ ปัจจุบัน ศิลปินนั้นจะเจอกับเจ้าของ Idea ซึ่งที่นี้ผมขอใช้คำว่า "ลูกค้า" เป็นตัวแทนของ User ละกันนะครับ เพราะน่าจะเป็น Scenario ที่ชัดเจนดี จะมาเจอกันตรงกลางเพื่อทำให้กลุ่มก้อน Idea หรือความต้องการนั้นมีความชัดเจน ตกผลึก และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างได้มากที่สุด (อาจจะต้องถูกที่สุดด้วยในบางกรณี) จึงทำให้ Scope ของทั้งสองคนมีภาพ Concept ประมาณนี้

ณ ปัจจุบัน ศิลปินนั้นจะเจอกับเจ้าของ Idea ซึ่งที่นี้ผมขอใช้คำว่า "ลูกค้า" เป็นตัวแทนของ User ละกันนะครับ เพราะน่าจะเป็น Scenario ที่ชัดเจนดี จะมาเจอกันตรงกลางเพื่อทำให้กลุ่มก้อน Idea หรือความต้องการนั้นมีความชัดเจน ตกผลึก และมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างได้มากที่สุด

​และเมื่อ Midjourney ได้เปิดตัวสู่สาธารณะนั้น ทำให้กระบวนการด้านบนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ต้องกล่าวก่อนว่า ณ วันนี้ ตัว Midjourney นั้น ยังไม่สามารถสร้างภาพที่สมบูรณ์สุด ๆ ได้ แต่ต้องถือได้ว่าประสิทธิภาพระดับนี้นั้น สามารถนำผลงานไปใช้ในบางงานได้แล้ว เช่น การใช้เป็นภาพประกอบการเล่าเรื่องต่าง ๆ หรือการใช้เป็น Material ในการสร้างโมเดลสามมิติต่อไป เป็นต้น ถึงแม้ว่าทั้งลูกค้าและศิลปินจะเข้าถึง AI ตัวนี้ได้ทั้งคู่ แต่ดูเหมือนว่าผู้ได้ประโยชน์จาก AI ตัวนี้จะเป็นฝั่งของ Client มากกว่า เนื่องจากด้วยแนวคิดเดิมทีที่ตัวลูกค้าเองนั้นขาดทักษะ (อาจจะเป็นเรื่องเวลา หรือปัจจัยอื่น ๆ ก็ได้) ทำให้ไม่สามารถสร้างสรรค์ผลงานเองได้ จึงต้องมีศิลปินเข้ามามีบทบาทในการสร้างผลงานนั้น ๆ ได้รับ Midjourney ให้เข้ามาเสริมทักษะส่วนนี้ที่ขาดหายไป จึงอาจจะทำให้สัดส่วนของบทบาทหน้าที่ในการสร้างผลงานนั้นเปลี่ยนแปลงไป โดยผมคาดคะเนความเป็นไปได้ออกมาประมาณ 5 รูปแบบ หากเราเริ่มต้นด้วย Idea จากฝั่ง Client ก่อน และกระบวนการคร่าว ๆ นั้นไม่เปลี่ยนแปลง ดังนี้

Midjourney เข้ามาเสริมทักษะส่วนนี้ที่ขาดหายไป จึงอาจจะทำให้สัดส่วนของบทบาทหน้าที่ในการสร้างผลงานนั้นเปลี่ยนแปลงไป

​A. ยังคงบทบาทเช่นเดิม อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่งานมีความซับซ้อนสูง


​B. Client มีบทบาทในขั้นตอนการสรรค์สร้างส่วนต้นด้วย เช่น การออกแบบ Concept หรือ การสร้าง Theme ของงาน


​C. Artist ไม่มีบทบาทในการตีความ Requirement แล้วหาก Client สามารถระบุความต้องการที่ชัดเจนด้วยการเสนอ Virtual ของ End product ที่ต้องการได้


​D. Artist เหลือบทบาทเป็นเพียงผู้ Finalize งานหรือทำการผลิต


​E. Client สามารถสร้างผลงานได้เองทั้งหมดได้


​โดยสรุปแล้ว ถึงจะยังไม่มีงานวิจัย หรือ Paper ที่ชัดเจนในเรื่องนี้ออกมา แต่ก็น่าจะเป็นที่เกือบแน่นอนแล้วว่า AI นั้นจะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันและงานของเราได้ในทุกมิติได้แน่นอน และหากเราอยู่ในจุดที่ไม่ใช่ผู้พัฒนา AI ทักษะในการเข้าใจการทำงานของ AI และการทำงานร่วมกับ AI นั้นจะกลายเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาผลงานของเราอย่างแน่นอน

Administrator 25 ตุลาคม ค.ศ. 2022
แชร์โพสต์นี้